3 ขั้นตอนก่อน ตัดสินใจใช้ Cloud เพื่อพัฒนาสู่ธุรกิจดิจิทัล [3 Steps to Cloud Services]
บริษัทหลายแห่งได้มีการใช้งาน “คลาวด์” เพื่อสร้างประโยชน์ในด้านธุรกิจและขจัดปัญหาหรือขั้นตอนการดำเนินงานที่ยุ่งยาก ซึ่งทำให้บริษัทดังกล่าว มีความสามารถใหม่ ๆ ในการแข่งขันในตลาด หรือช่วยให้การสร้างนวัตกรรมง่ายดายมากขึ้น และยังสามารถปรับขยายขนาดของคลาวด์ตามการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพเพื่อรองรับการใช้งานที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านการลงทุนทางเทคโนโลยีที่เกินความจำเป็นได้อีกด้วย แต่น่าเสียดาย ที่หลาย ๆ บริษัทยังไม่สามารถดึงเอาความสามารถของคลาวด์ออกมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือยังไม่ได้ ตัดสินใจใช้ Cloud ซึ่งปัญหาหลักมาจากการเข้าใจในเทคโนโลยี การนำเอาเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้เพียงบางส่วนและไม่มองถึงองค์ประกอบทุกด้าน และการออกแบบการใช้งานคลาวด์ที่สอดรับกับรูปแบบการทำงานขององค์กรให้ได้เต็มความสามารถ ซึ่งอาจทำให้มีความเสี่ยงที่ธุรกิจคู่แข่งที่มีการจัดการและความเข้าใจในเทคโนโลยีที่ดีกว่า สามารถสร้างธุรกิจดิจิทัลที่คล่องตัวและทำนวัตกรรมแซงหน้าเราได้
จากการวิจัยโดย McKinsey กล่าวว่า มีบริษัทเพียง 14 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่สามารถทำ Digital Transformation ได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ โดยเหตุผลของการไม่ประสบความสำเร็จนั้นมาจากการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะกับรูปแบบการทำงาน การเลือกใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัยกว่าและมีราคาสูง บริษัทวงจรชีวิตในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สั้นจนทำให้ตลาดปรับตัวกับเทคโนโลยีไม่ทัน หรือการมีโครงสร้างพื้นฐานที่ขาดความยืนหยุ่นจนทำให้รับมือกับข้อมูลปริมาณมากและซับซ้อนไม่ไหว ดังนั้น เพื่อให้บริษัทที่ต้องการทำ Business-technology Transformation สามารถดึงเอาศักยภาพและความสามารถที่แท้จริงของคลาวด์ออกมาได้มากที่สุด และหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นจะต้องพิจารณา 3 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เน้นลงทุนในส่วนงานหรือธุรกิจที่สามารถใช้งานคลาวด์เพื่อเพิ่มรายได้หรือกำไร
Value ที่เราจะได้รับจากการใช้งานคลาวด์คือเพิ่มความรวดเร็วของระบบการปฏิบัติงาน เร่งการสร้างนวัตกรรม และความยืดหยุ่นต่อการใช้งาน ซึ่งประโยชน์ดังล่าวจะช่วยให้การสร้างแอปพลิเคชัน หรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ นั้นรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น บริษัทที่ใช้งานคลาวด์โดยสมบูรณ์ (Cloud-native Companies) จะสามารถทำการรันโค้ดได้ถึงวันละ 100 – 1,000 รอบ โดย Automation บนคลาวด์ ซึ่งทำให้การพัฒนาแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ รวดเร็วขึ้นถึง 20 – 40 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ คลาวด์ยังช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้อีกมากมาย จากความสามารถในการใช้ร่วมกับบริการของ Third-party ตัวอย่างเช่น การทำระบบจดจำใบหน้า ระบบประมวลผลภาษา ควอนตัมคอมพิวเตอร์ และการรวบรวมข้อมูล เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น บริการคลาวด์ยังช่วยลดความมเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ลดต้นทุนในการจัดการด้านความปลอดภัยของศูนย์ข้อมูล และยังสามารถปรับเพิ่ม/ลดขนาดของการใช้งานคลาวด์ได้ตามความต้องการ เพื่อตอบสนองปริมาณการใช้งานที่แท้จริงได้ดีกว่าการใช้ On-premise Server ซึ่งเห็นได้ชัดอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีการใช้งานช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
- เลือกเทคโนโลยีและรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสมกับกลยุทธธุรกิจและความเสี่ยง
การตัดสินใจใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์และการระบุปัญหาหรือความเสี่ยงที่ไม่เพียงพอนั้น อาจนำมาซึ่งปัญหาต่าง ๆ ทั้งในด้านกฎหมาย การติดตั้งที่ถูกต้อง และความปลอดภัยไซเบอร์ เราจึงจำเป็นต้องเลือกเทคโนโลยีให้ตรงกับปัญหาหรือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการเริ่มใช้งานคลาวด์ได้ดี ซึ่งหากผู้บริหาร มองแต่ปัจจัยด้านระบบ IT เพียงอย่างเดียว อาจทำให้เกิดปัญหาด้านธุรกิจได้ ดังนั้นจึงควรพิจารณาแบบองค์รวมทั้งในด้านต้นทุนการใช้งานเทคโนโลยี การลงทุน และความเสี่ยงอที่อาจเกิดขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริหารที่ตัดสินใจใช้คลาวด์ยังต้องคำนึงรูปแบบในการใช้งาน ว่าจะใช้งานคลาวด์เพื่อประโยชน์ด้านซอฟต์แวร์ (Software-as-a-Service: SaaS) หรือการใช้งานคลาวด์เพื่อการสร้างซอฟต์แวร์ (Infrastructure-as-a-Service: IaaS หรือ Platform-as-a-Service: PaaS) และบริการของคลาวด์แบบใดบ้างที่เราควรเริ่มใช้งาน เช่น Virtual-machine, CSP Native computing, การพัฒนา Application บน Containerization, และการสร้าง Cloud-native Application เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การใช้งานหรือย้ายการทำงานไปสู่คลาวด์นั้น ทำให้แอปพลิเคชันต้องเชื่อมต่อการระบบภายนอก และจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงการสร้างมาตรฐานความปลอดภัย เช่น
1.) การเชื่อมต่อผ่านทาง Data Center ของบริษัทเอง ซึ่งอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
2.) การสร้างหรือใช้บริการระบบความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยบริษัทส่วนใหญ่กว่า 2 ใน 3 เลือกที่จะให้เวลาและลงทุนการพัฒนาด้วยวิธีนี้ ร่วมกับการใช้งาน SaaS ด้านความปลอดภัยบนคลาวด์
3.) การสร้าง “Zero-trust application” โดย 1 ใน 5 เลือกใช้วิธีการสร้างแอปพลิเคชันที่ไม่ต้องมีข้อคำนึงถึงเรื่องการเชื่อมต่อ แต่ทั้งนี้ยังต้องอาศัยความสามารถและทักษะในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ความซับซ้อน ซึ่งหลายบริษัทมักจะติดปัญหานี้
- เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานเพื่อสอบรับกับคลาวด์
การจะใช้เทคโนโลยีคลาวด์ให้เต็มประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจว่าคลาวด์ทำงานอย่างไรทั้งในด้านระบบ IT และด้านธุรกิจ ตัวอย่างเช่น 1.) เลือกให้ความสำคัญกับ Project ที่ต่อยอดไปสู่ Product ได้ก่อน หรือเน้นการสร้าง Project ย่อย ๆ ที่เสริมต่อการสร้างแอปพลิเคชัน มุมมองนี้จะช่วยให้ทีมงานสามารถสร้างแอปพลิเคชันหรือบริการออกมาได้แบบองค์รวม มากกว่าการพัฒนาเฉพาะส่วน หรือแยกกันพัฒนา 2.) เข้าใจบริบทของ Developer โดยการสร้าง Workflow ให้สอดรับกับการพัฒนาบนคลาวด์ 3.) ผสานการระบบการทำงานเข้ากับธุรกิจ ที่จะช่วยประโยชน์ในด้านความเร็วและความคล่องตัว 4.) ตรวจสอบว่าคลาวด์ออกแบบมาเพื่อให้ซอฟต์แวร์สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติและราบรื่น 5.) ออกแบบการใช้งานคลาวด์บนฐานด้านความปลอดภัย 6.) สร้างรูปแบบการทำงานของทีมให้พร้อมต่อการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีคลาวด์ 7.) ผลักดันการสร้างทักษะด้านการใช้งานคลาวด์ให้กับทีม 8.) สร้างวัฒนธรรมองค์กรและแนวคิดการรับความเสี่ยงต่าง ๆ
จากที่กล่าวมา McKinsey แนะนำว่า เพื่อให้การใช้งานคลาวด์สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับการด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.) การลงทุนด้านเทคโนโลยี โดยชี้ให้ว่าธุรกิจต้องเปลี่ยนไปใช้งานคลาวด์ทันที ก่อนที่จะมีปัญหาอื่น ๆ ตามมา
2.) การทำงานร่วมกันของทีมธุรกิจและทีม IT ที่จะทำให้ทั้งทีมงานและผู้บริหารเห็นถึงคุณค่าของประโยชน์จากคลาวด์
3.) การสร้างทีมที่มีทักษะด้าน IT โดยการสร้างนโยบายและการพัฒนาทีมในองค์กร
4.) การประเมินความเสี่ยง ทั้งในด้านความปลอดภัย ความยืนหยุ่น และด้านกฎหมาย ที่อาจขัดขวางการใช้งานคลาวด์ในอนาคต
________________________________________________________________________________________________________________________________________
หากท่านสนใจหรือต้องการคำปรึกษาบริการคลาวด์ เรา NT CLOUD มีทีมที่มากด้วยประสบการณ์ ท่านสามารถติดต่อกับเราได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้
________________________________________________________________________________________________________________________________________
ฝ่ายธุรกิจคลาวด์และบิ๊กดาต้า บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT
โทร : 1888
อีเมล์ : ntcloud@varut
เวปไซด์ :www.iris.cloud/startup
FB : NT Cloud Solutions