[Government] Data Catalog

ระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) หน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่มีความประสงค์จะแบ่งบันหรือแชร์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ให้ผู้อื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นั้น จะเริ่มต้นอย่างไร

ติดต่อเรา

ระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog)

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับระบบบัญชีข้อมูล กันมาบ้างแล้วว่าคืออะไร และมีประโยชน์อย่างมากในการก้าวเข้าสู่ยุกต์ของการใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการพัฒนาของประเทศของเรา แล้วหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่มีความประสงค์จะแบ่งบันหรือแชร์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ให้ผู้อื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นั้น จะเริ่มต้นอย่างไร และทำยังไงกันบ้างนั้น ก่อนอื่นก็อาจจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ด้านหลักๆ สำหรับการจัดทำบัญชีข้อมูล

ซึ่งด้านแรกคือ ด้านข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับด้านเทคนิค (Non-Technical Team) จะประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

เมื่อได้มีการดำเนินการผ่านด้านข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับด้านเทคนิคมาแล้ว ก็จะต้องมาดูในด้านที่สองก็คือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคนิค (Technical Team) ต่อกันละคะ ว่ามีองค์ประกอบการเชื่อมโยงหรือการแชร์ข้อมูลจะประกอบด้วยอะไรบ้าง

ตามกระบวนการและระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ ก็จะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย

ส่วนที่หนึ่ง: Government Catalog Registry Management การจัดการระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ

ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐเพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมบัญชีข้อมูลภาครัฐที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์และสร้างคุณค่า (Value) จากข้อมูลที่ภาครัฐให้บริการ โดยมีหลักเกณฑ์ให้บริการสำหรับ ข้อมูลเปิดภาครัฐ (Government Open Data), ข้อมูลที่ใช้ในการให้บริการภาครัฐ และข้อมูลที่องค์ใช้ในการวางแผนยุทธศาสตร์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก (https://gdcatalog.go.th)

ส่วนที่สอง: Government Catalog Portal & Directory Services การให้บริการบัญชีข้อมูลภาครัฐและบริการนามานุกรม

การให้บริการบัญชีข้อมูลภาครัฐและบริการนามานุกรม คือส่วนที่จะให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้งานสามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวก ตามสิทธิของผู้ใช้ที่มีตามองค์กรเจ้าของข้อมูล และบริการข้อมูลเปิดที่เป็นสาธารณะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องลงทะเบียน

ส่วนที่สาม: Data Catalog Agencies ระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน

ระบบบัญชีข้อมูล ของหน่วยงาน ก็คือหน่วยงานที่จัดทำบัญชีข้อมูลของตนเอง ที่ต้องการจะแบ่งปันหรือแชร์ข้อมูลนั่นเอง ซึ่งการสร้างระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงานเองนั้นสามารถแบ่งตามความพร้อมของหน่วยงานได้เป็น

  1. องค์กรที่ยังขาดความพร้อมสำหรับงานด้านระบบ เหมาะกับองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก สามารถลงทะเบียนบัญชีข้อมูลและรายการชุดข้อมูลที่จำเป็นกับ Government Data Catalog Services ได้เลย
  2. องค์กรมีความพร้อมด้านระบบบัญชีข้อมูล เหมาะกับองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งหน่วยงานสามารถสร้างระบบและบริหารจัดการข้อมูลได้เอง สามารถแบ่งย่อย เพื่อลงรายละเอียดตามความพร้อมเพิ่มเติมอีกนิดเป็น
    • ความพร้อมบางส่วน (มีเจ้าหน้าที่ดูแลการนำเข้าและบริหารจัดการข้อมูล) และสามารถมีระบบบัญชีเป็นของตนเอง สามารถขอใช้งานผ่านบริการ Data Catalog Platform จากบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ หรือ GDCC Marketplace services ผู้ขอใช้บริการก็จะได้ Data Catalog Agency 1 ระบบ (ตามมาตรฐาน CKAN Open-D) พร้อมคู่มือการใช้งาน ที่ได้รับการบริการและดูแลระบบ Infrastructure ผ่านบริการ GDCC สามารถเข้าดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลสำหรับหน่วยงานทั้งระบบ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://gdcc.onde.go.th/gdcc-service/
    • มีความพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่บริหารจัดการข้อมูลและระบบไอที ซึ่งจะมีระบบ CKAN Open-D ที่ได้มีการพัฒนาจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center : NECTEC) ซึ่งจะมี ทั้งคู่มือการใช้งานและการอัพเดตเวอร์ชันพร้อมให้ผู้ใช้ดาวโหลดไปติดตั้งและบริหารจัดการได้ที่ https://gdhelppage.nso.go.th/index.html

ทั้งนี้หากมีความสนใจในรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติม สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มได้จาก มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog Guideline review) เวอร์ชัน 2.0 (ฉบับร่าง)

by

Puangtip Thaensaeng

Senior Director of Big Data Operation